กลุ่มที่ 5 การปฎิบัติตามคำส่ง

นิทาน อะไรเอ่ย

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

การนำเสนองานเป็นกลุ่ม

กลุ่มที่1 เรี่อง ความหมายของภาษา คือ เป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร และการกระทำที่แสดงออกมาเพื่อจะสื่อถึงความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่าต้องการทำอะไรหรือต้องการอะไร

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนครั้งที่3

นางสาวนันทนากร์ หุ้นศรี (อ้อม)
รหัสนักศึกษา 5111207386
วันที่27 พ.ย.52 อาจารย์ ไปสัมนาการพัฒนาหลักสูตร ที่ จ.กาญจนบุรี
ห้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอกิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนลงในบล็อกเทคนิคการสอนภาษาการสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไรแนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษาครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนานควรสอนภาษาเด็กอย่างไรควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการพูด อธิบายหรือเล่าถึงภาพที่เห็น ,ทำท่าประกอบคำการพูด , เรียกชื่อตามนิทานตัวอย่างกิกรรมส่งเสริมการเขียนและการอ่านที่บ้าน แนะนำให้ลูกหัดสังเกต ชักชวนให้ลูกอ่านเครื่องหมายจราจร ไปห้องสมุดกับลูกและยืมหนังสือด้วยกัน ฝึกให้ลูกจดบันทึกกิจกรรมที่ท่านกับลูกทำด้วยกันตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง ,ฟังประกอบหุ่น, ฟังเสียงคำคล้องจองขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ขั้นที่1 คาดเดาภาษาและหนังสือ แก้ไขความผิดพลาดของความหมายด้วยตนเอง
ขั้นที่2 แก้ไขข้อผิดพลาดในประโยคด้วยตนเอง
ขั้นที่3 จำคำที่คุ้นเคยได้ คาดคะเนความหมายจากบริบท
ขั้นที่4 เข้าใจเกี่ยวกับ การเริ่มต้น และ การลงท้าย เมื่อนำมาใช้ในการเดาคำ
ขั้นที่5 สร้างคำศัพท์จากสิ่งที่พบเห็นได้มาก
ขึ้นการเขียนในขั้นตอนการเขียนของเด็กจะพบว่าเด็กจะมีพัฒนาการแบ่งได้เป็น 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่1 ขีดเขี่ย
ขั้นที่2 เขียนเส้นตามยาวซ้ำๆกัน
ขั้นที่3 เริ่มเขียนได้มีรูปร่างคล้ายตัวอักษร
ขั้นที่4 เขียนตัวอักษรและสัญลักษณ์ของคำเริ่มต้นได้สัมพันธ์กัน
ขั้นที่ 5 สร้างตัวสะกดเอง
ขั้นที่ 6 สามรถเขียนได้ถูกต้องตามแบบแผน
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้ โดยครูอาจใช้ความคิดเกี่ยวข้องกับภาษาของเด็กมาสอน ขณะที่เด็กกำลังสนใจที่จะเยนชื่อตัวเอง ก็จะสอนให้เด็กทราบว่าชื่อตัวเองสะกดอย่างไร

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนครั้งที่2

วันศุกร์ ที่ 13 พฤสจิกายน พ.ศ.2552
คำสั่งอาจารย์ให้นักศึกแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ได้ เป็นกลุ่มที่ 3

บรรยายกาศการเรียนในห้องดีจังเพื่อนๆๆต่างตั้งใจทำงานกัน และเย็นสบายดีค่ะ



เรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้

สรุป

ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์การเรียนรู้ (Lrarning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะจากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการเรียนรู้

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

นางสาวนันทนากรณ์ หุ้นศรี
รหัสนักศึกษา 5111207386
วันที่ 6 พฤพิกายน 2552












1 การจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย

คือ การจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ภาษาไทยและภาษาถิ่นการเตรียมคาวมพร้อมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะภาษาได้อย่างถูกต้องและมีพัฒนาการด้านต่างๆ

2 บรรยากาศภายในห้องที่เรียนในวันนี้ ในความรู้สึกของเรา

บรรยากาศรู้สึกว่ามันไม่ค่อยดีเพราะอากศเย็นมากเกินไป และรู้สึกว่ามันเรียนแล้วไม่ค่อยสบายเท่าไร ส่งผลให้การเรียนไม่ค่อยดีและเงียบเกินไป

3. สรุปการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาเอง

คือ การพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด-5 ปี ให้มีประสบการณ์ทางภาษาในทุกด้าน ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้ได้พัฒนาไปตามช่าวอายุวัยของเด็ก ในด้าน การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

4. นำเอาข้อ1และข้อ3มาเปรียบเทียบกัน

คือ การจัดการเรียนรู้ทางภาษาให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งแต่แรกเกิด-5ปี ได้มีทักษะทางด้านสติปัญญาในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ได้ตามพัฒนาการของเด็ก